เทรดเดอร์ในตลาด Forex ส่วนใหญ่เป็นเทรดเดอร์สายวิเคราะห์ทางนิค เนื่องจากตลาด Forex มีการแกว่งตัวค่อนข้างมากในแต่ละวันการวิเคราะห์ทางเทคนิคจึงตอบโจทย์มากกว่าการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นการวิเคราะห์ภาวะทางเศรษฐกิจ การเมืองและอุตสาหกรรม วิเคราะห์ตัวของCEO นอกจากนี้ยังศึกษาผลประกอบการ เช่น อัตราการเติบโตในอดีตเพื่อคาดคะเนแนวโน้มในอนาคต แล้วนำมาใช้ในการวิเคราะห์ประเมินราคากับหลักทรัพย์นั้นๆ ว่าควรจะมีราคาเท่าไหร่
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานนี้มีรากฐานมากจากแนวความคิดที่ว่า “มูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic value)” โดยการวิเคราะห์ทางพื้นฐานนี้จะมีขั้นตอนวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน อยู่หลักๆ 3 ขั้นตอน
1 .วิเคราะห์เศรษฐกิจ (Economic Analysis)
วิเคราะห์เศรษฐกิจโดยเป็นการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต ทั้งเศรษฐกิจของประเทศและเศรษฐกิจโลก
2. วิเคราะห์อุตสาหกรรม (Industry Analysis)
วิเคราะห์อุตสาหกรรมเป็นการวิเคราะห์วงจรอุตสาหกรรม โดยวิเคราะห์จากสภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรม ตลอดจนอนาคตของอุตสาหกรรมว่าจะมีการเติบโตอย่างไร
3. วิเคราะห์บริษัท (Company Analysis)
วิเคราะห์บริษัทเป็นตัวสุดท้ายในการวิเคราะห์ โดยจะเน้นวิเคราะห์ประเภทของบริษัทและประเภทของหลักทรัพย์ โดยจะวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพ(Qualitative Analysis)และเชิงปริมาณ(Quantitative Analysis)
ดังนั้น
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental analysis) จะเหมาะกับการวิเคราะห์ระยะปานกลางหรือระยะยาว แต่การเคลื่อนที่ของราคาในตลาด Forex ไม่ได้เป็นเหมือนตลาดหุ้น ตลาด Forex จะมีการแกว่งตัวรุนแรงมากกว่าหลายเท่า ทำให้การวิเคราะห์ทางเทคนิตได้รับความนิยมมากกว่าการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐานเพราะให้สัญญาณซื้อขายที่รวดเร็วและไม่ต้อใช้ข้อมูลจำนวนมากเพื่อยืนยัน ต่างจากการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐานที่ให้สัญญาณซื้อขายค่อนข้างช้าและยังต้องใช้ข้อมูลมากมายเพื่อยืนยัน